เรื่องที่ 4 ขั้นตอนในการรีโนเวทและจัดห้องนั่งเล่น เป็นกระบวนการสุดท้ายหลังจากที่เพื่อน ๆ สำรวจจุดประสงค์ของตัวเองมาจนถึงการออกแบบเสร็จแล้ว มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ถ้าไม่เชี่ยวชาญแนะนำให้จ้างช่างหรือผู้ที่มีประสบการณ์มาทำส่วนนี้ให้ มาดูกันเลยว่าจะมีขั้นตอนไหนบ้าง จะได้คุยกับช่างเข้าใจ และตรวจงานได้ด้วยตัวเอง 

Asset 11

การเตรียมพื้นที่ก่อนรีโนเวทห้องนั่งเล่น

จัดห้องนั่งเล่น

หลายคนอาจจะสงสัยว่าการเตรียมพื้นที่ก่อนรีโนเวท ต้องเตรียมอะไรบ้าง โดยหลัก ๆ แล้วห้องนั่งเล่นจะเตรียมพื้นที่ง่ายกว่าห้องอื่น ๆ ภายในบ้าน เพราะว่ามีงานระบบต่างๆ ค่อนข้างน้อยและไม่ซับซ้อนมากเกินไป

  • อันดับแรกคือการเก็บของออกจากพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ของใช้ต่าง ๆ ชุดเฟอร์นิเจอร์เดิม รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์บิวอิน 
  • หลังจากที่ขนของออกจากพื้นที่หมดแล้วให้ทำการตรวจสอบความเสียหายที่เกินขึ้นในห้องนั่งเล่น เช่น รอยแตกร้าวตามโครงสร้างหรือผนัง ความชื้นในผนัง รวมไปถึงระบบไฟฟ้าต่าง ๆ ว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์พรร้อมใช้งานหรือไม่ 
  • ขั้นตอนต่อไปคือการทำความสะอาด หลัก ๆ จะเป็นการทำความสะอาดผนัง เช่น การกำจัดเศษฝุ่นหรือคราบของสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากผนัง รวมไปถึงฟิล์มสีเดิมในกรณีที่ต้องการทาสีห้องนั่งเล่นใหม่
Asset 22

ติดตั้งงานระบบ

เมื่อเตรียมพื้นที่และทำความสะอาดเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการติดตั้งงานระบบภายในห้องนั่งเล่น ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายไฟ การติดตั้งเต้ารับไฟ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ รวมไปถึงการติดตั้งสายเคเบิลต่าง ๆ ขั้นตอนนี้แนะนำให้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

จัดห้องนั่งเล่น

การเดินสายไฟในห้อง จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่ การเดินสายไฟแบบเดินลอยและการเดินสายไฟแบบฝังผนัง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. การเดินสายไฟแบบเดินลอย เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด และใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยจะแบ่งวิธีการออกเป็น 2 แบบ คือ
  • แบบตีกิ๊บ เป็นการเดินสายไฟแนบไปกับผนัง หักงอไปตามเสาและคาน จากนั้นเชื่อมไปยังเต้ารับหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ โดยใช้กิ๊บเพื่อยึดเกาะเป็นระยะ ๆ
  • แบบท่อร้อยสายไฟ เป็นการร้อยสายไฟผ่านท่อโลหะหรือท่อ PVC ทำให้สายไฟทนทาน ปลอดภัยและตรวจเช็คได้ง่าย แต่ควรระวังไม่ให้สายไฟในท่อมีความหนาแน่นเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

    ข้อดี
    คือประหยัดเวลาและงบประมาณในการติดตั้ง ซ่อมแซมได้ง่ายโดยไม่ต้องรื้อผนัง
    ข้อเสีย คือต้องใช้ความปราณีตในการติดตั้ง และถ้าต้องเดินสายไฟเป็นจำนวนมาก จะทำให้บ้านดูรกไม่สวยงาม
  1. การเดินสายไฟแบบฝังผนัง หากเป็นการฝังในผนังเบา ขั้นตอนจะไม่ยุ่งยาก เพราะมีช่องว่างภายในโครงคร่าวทำให้สะดวกต่อการเดินสายไฟ และติดตั้งท่อร้อยสายไฟก่อนปิดแผ่นผนังได้ ส่วนการซ่อนสายไฟไว้ในผนังก่ออิฐ จะต้องเจาะผนังแล้วฝังท่อร้อยสายไฟลงไปในช่องที่เจาะไว้

    การเดินสายไฟแบบฝังผนัง จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและกำหนดตำแหน่งมาอย่างดี และดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ

    ข้อดี คือทำให้กำแพงดูเรียบร้อยสวยงาม ประหยัดพื้นที่ ไม่มีบล็อคลอยออกมาจากกำแพง ปลอดภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร เพราะสายไฟไม่ต้องเสี่ยงชำรุดจากสภาพอากาศภายนอก

    ข้อเสีย คือขั้นตอนการติดตั้งค่อนข้างยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายสูง และการซ่อมแซมที่ค่อนข้างยาก

Asset 33

งานทาสีก่อนจัดห้องนั่งเล่น

โดยการทาสีภายในห้องนั่งเล่น จะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่ การเตรียมผิวผนัง การทาสีรองพื้นและการทาสีจริง

  • โดยเริ่มจากการตรวจสอบรอยร้าวของผนังก่อน หากมีความเสียหายให้ทำการซ่อมแซมหรือแก้ไขก่อน 
  • จากนั้นให้ทำความสะอาดพื้นผิวของผนัง ด้วยการขูดฟิล์มสีเก่าออกและล้างเศษฝุ่นออกให้หมด
  • ขั้นตอนต่อมาคือการทาสีรองพื้นก่อน เพื่อช่วยให้ผิวของผนังแข็ง ทำให้สีจริงยึดเกาะได้ดี
  • เมื่อสีทารองพื้นแห้งจนได้ที่แล้ว ให้ทำการทาสีจริงทับ 1-2 รอบ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย จัดห้องนั่งเล่นต่อได้เลย

เรื่องถัดไป เป็นเรื่องของการเลือกใช้วัสดุในการรีโนเวทห้องนั่งเล่น ดูได้ที่ลิงค์นี้เลย

สำหรับใครที่มองหา “ขั้นตอนอื่นในการรีโนเวทห้องนั่งเล่น” ตามอ่านต่อตรงนี้ได้เลยยยย