ไม้ คือวัสดุที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานก่อสร้าง และงานตกแต่ง โดยปัจจุบันได้มีการแบ่งประเภทของไม้เป็น 3 แบบ คือไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้อปานกลาง และไม้เนื้ออ่อน การเลือกใช้จึงแตกต่างกันไป ตามประเภทของงาน

วันนี้ LifeSara จะมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักไม้แต่ละประเภท เพื่อช่วยในการเลือกและวางแผนงบประมาณ ก่อนที่จะรีโนเวทบ้าน จะมีไม้ประเภทไหนบ้าง ไปดูกันนน

Asset 11

ไม้เนื้อแข็ง

ไม้เนื้อแข็ง

เป็นไม้ที่มีเนื้อเหนียว มีสีเข้มกว่าไม้ประเภทอื่น และมีความแข็งแรงประมาณ 1,000 กก./ลบ.ม. ทนแรงกระแทกได้ดี เหมาะกับภายนอกที่ต้องเจอสภาวะอากาศแปรปรวนต่าง ๆ เช่น แดด ลมพายุ และฝน

ข้อดี คือ มีอายุการใช้งานที่นานถึง 6 ปี ข้อควรระวัง คือ ไม้เนื้อแข็ง มักจะเกิดการบิดตัว ทำให้ความชื้นและความร้อนส่งผ่านไปได้ง่าย จนไม้เกิดการหดและขยายตัว โดยไม้เนื้อแข็งที่นิยมใช้กัน มี 7 ชนิด ดังนี้

  1. ไม้เต็ง เป็นไม้ที่มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้มีความแข็ง ความเนียว และแข็งแรง น้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น  ตงบ้าน วงกบ ประตูหน้าต่าง โครงหลังคา หรือจะใช้ทำเป็นเสาบ้านก็ได้เช่นกัน
  2. ไม้รัง ลักษณะเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมเหลือง เนื้อหยาบ และไม่สม่ำเสมอ มีน้ำหนักเยอะ โดยเฉลี่ยประมาณ 800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นิยมนำมาทำเป็นเสาบ้าน และโครงสร้างอาคาร 
  3.  ไม้แดง มีลักษณะของเนื้อไม้เป็นสีแดง แข็งแรงและทนทาน มีความทนไฟเป็นพิเศษและไม่มีปลวกมารบกวน น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 960 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นิยมนำมาทำเป็น  พื้น วงกบ ประตูหน้าต่าง
  4. ไม้ตะเคียนทอง เนื้อไม้มีสีเหลืองหม่น  มีการยืดหดตัวน้อย มีควมแข็ง เหนียว ทนปลวกได้ดี น้ำหนักโดยเฉลี่ย 750 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ในการทำพื้นบ้าน ฝาบ้าน และไม้ระแนง
  5. ไม้ตะแบก ลักษณะเนื้อไม้สีเทา มีความแข็ง เหนียว ปลวกมอดไม่กิน จุดเด่นของไม้ตะแบกคือสามารถนำไปตกแต่งภายในได้ทั้งแนวโมเดิร์นและคลาสสิก ใช้ทำเสาและพื้นภายในบ้าน
  6. ไม้ประดู่ เนื้อไม้สีแดงอมเหลือง ลวดลายสวยงาม เนื้อแข็งและทนทาน ตกแต่งและทำเงาได้ดี น้ำหนักโดยเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นิยมใช้ในการทำเสา พื้น และฝาบ้าน นอกจากนี้ยังนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านได้อีกด้วย
  7. ไม้มะค่าแต้ เนื้อไม้มีสีน้ำตาล และค่อนข้างหยาบ มีความแข็งและทนทานมาก ทนมอด ทนปลวกได้ดี แต่แปรรูปได้ยากเพราะความแข็งของเนื้อไม้ น้ำหนักโดยเฉลี่ย 1090 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ในการทำเสาบ้าน บันได้ และแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ชนิดต่าง ๆ
Asset 22

ไม้เนื้อแข็งปานกลาง

ไม้เนื้อแข็ง

เป็นไม้ที่มีคุณภาพดีกว่าไม้เนื้ออ่อน มีความแข็งแรงประมาณ 600 ถึง 1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ไม้เนื้อปานกลางจะทนทานต่อสภาพอากาศได้ดีเท่ากับไม้เนื้อแข็ง นิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนต่าง ๆ ที่ต้องการความละเอียดสวยงาม ตัวอย่างเช่น 

  1. ไม้สัก ลักษณะเนื้อเป็นสีน้ำตาลทอง มีความแข็งพอประมาณ ทนทาน แกะสลักได้ดี เป็นไม้ที่นิยมในการทำเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ ประตูหน้าต่าง และงานแกะสลักต่าง ๆ
  2. ไม้กระบาก เป็นไม้สูงใหญ่ ลักษณะเนื้อไม้มีสีนวลเหลือง เนื้อหยาบ แข็ง และเหนียว ข้อเสียคือ เนื้อเป็นทราย ทำให้กัดคมเครื่องมือ น้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำเป็นไม้แบบเพื่อหล่อคอนกรีต เพราะโดนน้ำแล้วไม่บิดงอ
  3. ไม้นนทรีย์ ลักษณะไม้เป็นสีชมพูอ่อน เนื้อหยาบปานกลาง เลื่อยตกแต่งได้ง่าย น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 575  กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นิยมนำมาใช้ทำพื้น เพดาน และไม้ฝา
Asset 33

ไม้เนื้ออ่อน

เป็นไม้มีความแข็งแรงและทนทานน้อย สีของไม้มีตั้งแต่สีอ่อนไปจนถึงสีเข้ม เนื้อไม้ไม่แข็งมากจึงไม่นำนิยมนำมาใช้เป็นส่วนของโครงสร้างที่ต้องการรับน้ำหนัก มีความแข็งแรงเฉลี่ยต่ำกว่า 600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีความทนทานต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับไม้ประเภทอื่น อายุการใช้งานประมาณ 2 ปี ตัวอยางของไม้เนื้ออ่อน คือ

  1. ไม้ยาง ลักษณะเนื้อไม้มีสีแดง มีความแข็งปานกลาง เหมาะกับการใช้งานในร่ม น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 650-720 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นิยมใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป เช่น ไม้ฝา โครงคร่าว ฝ้าเพดาน 
  2. ไม้กระท้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลักษณะเนื้อไม้มีสีแดง ความแข็งแรงปานกลาง เหมาะกับการใช้ในร่ม จะทำให้ทนทานยิ่งขึ้น เลื่อยตกแต่งได้ง่าย  มักใช้ทำพื้นบ้าน และเพดาน ข้อควรระวังคือ ไม้ชนิดนี้จะมีการยืดหดตัวค่อนข้างมาก


ไม้ เป็นวัสดุที่ใช้ได้ค่อนข้างหลายหลาย เกี่ยวกับงานก่อสร้างและรีโนเวท แต่เนื่องจากคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เพื่อน ๆ จึงต้องศึกษา และจำแนกการใช้งานของไม้แต่ละประเภทให้ถูกต้องตามคุณสมบัติ รวมถึงวิธีการดูแลรักษาก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ไม้มีความแข็งแรงและยืดอายุการใช้งานได้นานมากกว่าเดิม

สำหรับใครที่มองหา “วัสดุอื่นในการรีโนเวทบ้าน”  ตามอ่านต่อตรงนี้ได้เลยยยย