เวลาเหนื่อยใจ ทุกคนจะจัดการความรู้สึกนี้ยังไง?

เวลาที่เหนื่อยหรือเจอเรื่องที่ไม่สบายใจ แต่ละคนก็มีวิธีจัดการกับปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง ไปเที่ยว หรือกระทั่งการเลือกที่จะระบายให้ใครสักคนฟัง  แต่ด้วยวัยของเราเองที่เมื่อยิ่งโตขึ้น กลับยิ่งที่จะเลือกเก็บความรู้สึกไว้กับตัวเองแบบไม่กล้าที่จะพูดคุยกับใคร ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาตามมาได้นั่นเอง

คนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพจิตนั้น เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนผ่านช่วงอายุ โดยเฉพาะ วัยทำงาน ซึ่งเป็นวัยที่ต้องแบกรับความผิดชอบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปริมาณงานที่เกินกว่าจะรับผิดชอบไหว แรงกดดันจากคนรอบข้าง หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน รวมถึงสังคมที่มีการแข่งขันกันตลอดเวลา ทำให้เราไม่สามารถหยุดพักได้เลย

แรงกดดันมหาศาลเหล่านี้ก่อตัวอยู่ในใจ จนกลายเป็นเงามืดที่คอยกัดกินตัวเราไปทีละเล็กทีละน้อย ซึ่งเราก็ไม่รู้เลยว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของเราอย่างไร และจะระเบิดออกมาตอนไหน แล้วส่งผลเสียต่อสุขภาพกายได้ยังไง อาการเริ่มต้นเป็นประมาณไหน แล้วการรักษามีวิธีใดบ้าง งั้นเรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

  1  

เมื่อการทำงานไม่สนุกอย่างที่คิด การเสียสุขภาพจิตก็ตามมา

เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทำงานเราจะต้องเจอการเปลี่ยนแปลงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน สภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่ โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เป็น Work from Home ทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่า ตนเองเหมือนทำงานอยู่ตลอดเวลา จุดนี้ก็อาจจะทำให้เหนื่อยล้า และเกิดความเครียดสะสม จนกลายมาเป็นภาวะหมดไฟ หรือความกังวลรุนแรงขึ้นมาได้

ต่อมาเมื่อสถานการณ์ Covid-19 ดีขึ้น หลายๆ บริษัทเรียกพนักงานให้กลับไปทำงานเหมือนเดิม ทำให้บางคนกลัวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอีกครั้ง เพราะคุ้นเคยกับการทำงานที่บ้านมาเป็นเวลานาน หรืออาจรวมไปถึงการไม่อยากกลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บริษัท ไม่อยากเจอเพื่อนร่วมงานที่ไม่ชอบ หรือเบื่อที่ต้องตื่นเช้ามาเจอกับความวุ่นวาย โดยเฉพาะปัญหารถติด ทำให้ยากต่อการกลับไปสู่การทำงานในรูปแบบเดิม จึงเกิดความเครียดต่อการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาอีก

นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัญหาของคนทำงานที่พบบ่อยๆ คือ การที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันต่างๆ ทั้งจากงานและคนในที่ทำงาน ที่อาจเป็นการตำหนิ หรือแม้แต่การไม่ได้รับการเอาใจใส่ ถึงแม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่หากสะสมนานๆ เข้า ก็อาจทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่มีคุณค่ามากพอ และคอยโทษตัวเองอยู่เสมอ จนสุดท้ายพลังใจของเราลดลงไปเรื่อยๆ

หากเราไม่สามารถจัดการกับปัญหา หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ แต่กลับปล่อยไว้ให้เรื้อรังไปนานๆ ก็อาจจะมีแนวโน้มที่อาการจะรุนแรงขึ้น และเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้เลยนะ

  2  

นี่เราใจร้ายกับตัวเองเกินไปหรือเปล่า :
7 สัญญาณเตือน ว่าเรากำลังมีปัญหาสุขภาพทางจิต

เมื่อเราไม่ยอมให้ตัวเองมีความสุข ปล่อยให้ความทุกข์ ความทรมาน เกาะกินใจเราไปเรื่อยๆ พอรู้ตัวอีกที เราอาจกลายเป็นคนมีสุขภาพใจอ่อนแอไปเสียแล้ว  เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรงจนเกินไป ลองมาดูสัญญาณเตือนกันหน่อยว่า เรากำลังมีแนวโน้มความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตอยู่รึเปล่านะ?

1. การเปลี่ยนแปลงของการนอนหลับ
– อาจมีอาการนอนไม่หลับ นอนไม่เพียงพอ หรือนอนมากเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อก่อน

2. การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ หรือพฤติกรรม
– รู้สึกกังวล, กลัว, ตื่นตระหนก, เศร้า, ร้องไห้บ่อยๆ หรือรู้สึกสิ้นหวังกว่าเดิมมากๆ รวมทั้งมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง เช่น ไม่ดูแลตัวเอง ไม่อาบน้ำแปรงฟัน เป็นต้น

3. การเปลี่ยนแปลงของการกินหรือน้ำหนักตัว
– บางคนอาจทานอาหารมากกว่าเดิม ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือ บางคนทานน้อยกว่าเดิมหรือไม่ทานเลย ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด

4. สิ่งที่เคยสนใจกลับกลายไม่สนใจ
– รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่ทำอยู่ ไม่อยากออกไปใช้ชีวิตตามปกติ ไม่สนใจคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนหรือในที่ทำงาน

5. รู้สึกไม่มีพลัง
– เหนื่อย อยากนอนตลอดเวลา ไม่อยากทำอะไรเลย

6. มีปัญหาทางด้านความคิด
– ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำได้ ความจำบกพร่อง ความสามารถในการคิดอ่านลดลง รวมถึงการพูดที่ไม่สามารถสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้

7. เจ็บปวดทางกายอย่างหาสาเหตุไม่ได้
– มีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หายใจลำบาก เวียนศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืด เป็นต้น

  3  

อยากให้ช่วงเวลานี้ ผ่านไปเร็วๆ จัง : 
3 วิธีดูแลตัวเองในวันที่โลกใจร้ายกับเรา

บางครั้งชีวิตของเราอาจต้องเจอเรื่องยากๆ ที่มองไปทางไหนก็ไม่เจอทางออก จนเรารู้สึกอยากให้ช่วงเวลานี้ผ่านไปเร็วๆ จัง หรือถ้าหายตัวไปที่ไหนสักแห่งได้ก็คงดี ใครมีความรู้สึกแบบนี้ มาดู 3 วิธีดูแลตัวเองในวันที่โลกใจร้ายกับเรากัน

1. ปรับความคิด
เมื่อเจอเรื่องหรือปัญหาหนักๆ เราต้องยอมรับให้ได้ก่อนว่า ความทุกข์นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องเผชิญหน้า และปรับมุมมองที่มีต่อเหตุการณ์นั้นใหม่ หาข้อดีมาแทน

2. ปรับอารมณ์
เมื่อการเก็บความรู้สึกไว้กับตัวเอง จะกลายเป็นระเบิดลูกหนึ่งได้ในสักวัน ลองยิ้มให้กับคนในกระจกหน่อยนะ ให้เขาหัวเราะให้มากๆ ดูแลอารมณ์ของเขาให้ดีๆ แต่หากใครที่รู้สึกว่า ไม่กล้าที่จะระบายหรือพูดคุยกับใครเลย กลัวว่าคนอื่นจะมองเราไม่ดี ลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจดูได้ ไม่ใช่เรื่องน่าอายเลย

3. ปรับการกระทำ
ยอมรับว่าเราไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และเลือกใช้วิธีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม เมื่อเจอสิ่งที่ไม่ชอบ ให้ลอง หายใจเข้า-ออก ลึกๆ ช้าๆ แล้วยิ้มกว้างๆ ให้กับตัวเอง และดูแลร่างกายตัวเองให้ดี ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนอน หรือการออกกำลังกาย รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น โดยเฉพาะพ่อแม่ เพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกว่าไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว แต่เรายังมีคนที่คอยอยู่ข้างๆ เราเสมอ

  4  

เพื่อสุขภาพใจที่ดี มาหา MorDee กัน!

หากใครที่ทำตาม 3 วิธีในการดูแลตัวเองแล้ว แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น การได้พูดคุยปรึกษาแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี และทุกวันนี้ก็มีบริการพบแพทย์ผ่านทางออนไลน์ ที่ตอบโจทย์ดิจิทัลไลฟ์สไตล์และสะดวกสบายมากๆ เพราะไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลและไม่ต้องเสียเวลารอคิวนานๆ อย่าง แอป MorDee (หมอดี) หมอประจำบ้านในมือเรา ที่จะช่วยให้เราได้พบและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาได้แบบเป็นส่วนตัวทุกที่ทุกเวลา

ซึ่งปัญหาสุขภาพใจ ที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น เป็นปัญหาที่มีผู้เข้ามาปรึกษามากเป็นอันดับต้นๆ ของแอป MorDee (หมอดี) ส่วนตัวแอปจะดีงาม และช่วยอำนวยความสะดวกได้อย่างไร มาดูกันได้เลย

✅ แอป MorDee (หมอดี) เป็นแอปพลิเคชันพบหมอออนไลน์ ที่มีหมอและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจากสถาบันชั้นนำให้เลือกปรึกษาได้มากกว่า 500 ท่าน ครอบคลุมกว่า 20 สาขา ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ รวมทั้งมีบริการคลินิกเฉพาะทาง เช่น สุขภาพผู้หญิง ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ ความดัน หรือแม้แต่กระทั่งคลินิกมะเร็งเต้านม เป็นต้น

✅ สามารถพบคุณหมอแบบออนไลน์ได้ง่ายๆ ไม่ต้องไปโรงพยาบาลเลย โดยปรึกษาผ่าน Video Call หรือหากต้องการความเป็นส่วนตัวก็สามารถโทรคุย หรือจะเป็นการพิมพ์ข้อความแชตกับคุณหมอก็ได้นะ

✅ สามารถเลือกวันและเวลาที่สะดวก เพื่อนัดคุย หรือเลือกพบคุณหมอแบบทันทีก็ได้เหมือนกัน

✅ ก่อนเข้าพบคุณหมอ สามารถเขียนอาการและแนบรูปไว้ในแอปฯ ได้ เมื่อถึงเวลานัดปรึกษา คุณหมอจะสอบถามอาการ คัดกรองเบื้องต้น และวินิจฉัยความเสี่ยงของโรค

✅ ถ้าคุณหมอพิจารณาว่าต้องใช้ยาในการรักษา ก็สามารถซื้อยาตามที่แพทย์สั่ง แล้วรอรับยาที่บ้านได้เลย เพราะแอป MorDee มีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้านทั่วประเทศ ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ จะได้รับยาได้ภายใน 3 ชั่วโมง ส่วนต่างจังหวัดจะได้รับภายใน 1-2 วัน พร้อมมีเภสัชกรโทรมาแนะนำการใช้ยา รวมถึงคุณหมอยังทำการนัดติดตามอาการได้อีกด้วย

✅ ที่สำคัญเลยคือ แอป MorDee มีฟังก์ชัน TeleMediClaim+ เชื่อมสิทธิประกันกับบริษัทประกันที่ร่วมมือกับแอป MorDee สามารถเคลมประกัน OPD ได้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

  5  

ปรึกษาปัญหาสุขภาพใจกับ MorDee ได้ง่ายๆ เพียง 5 ขั้นตอน

สำหรับใครที่ไม่กล้าไปพบจิตแพทย์ เพราะรู้สึกกังวลใจ กลัวสายตาคนรอบข้างที่มองมา หรือไม่อยากจะไปนั่งรอคิวนานๆ เลยหลีกเลี่ยงที่จะไม่ไปพบแพทย์ จนสุดท้ายอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมาได้ หากลองมาปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ผ่านแอป MorDee ก็อาจช่วยดูแลสุขภาพใจให้ดีขึ้นได้ ทุกคนสามารถพบคุณหมอได้สะดวกและง่ายมาก เพียง 5 ขั้นตอนเท่านั้น!

1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MorDee (คลิกที่นี่) จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนใช้งาน

2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนก “จิตเวช” (เพื่อพบจิตแพทย์) หรือแผนก “สุขภาพใจ” (เพื่อพบนักจิตบำบัด)

3. เลือกจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)

4. เมื่อถึงเวลานัดหมาย กดเข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาคุณหมอ

5. รอสรุปผลการปรึกษาจากคุณหมอ พร้อมใบสั่งยา (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้เลย

การที่เรามีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกาย หรือสุขภาพใจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในวันที่โลกโหดร้ายเหมือนทุกอย่างพังทลายลงมา บอกเลยว่าแอป MorDee พร้อมดูแลคนไทยให้มีสุขภาพดีและเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึงด้วยการใช้งานง่ายๆ ผ่านระบบออนไลน์ได้จากทุกที่ทั่วประเทศ หรือแม้อยู่ในต่างประเทศ ใครอยากรู้จัก MorDee เพิ่มเติม กดตรงนี้เพื่ออ่านรายละเอียดได้เลย