ปูน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการรีโนเวทบ้าน เพราะบ้านหนึ่งหลังมีองค์ประกอบมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เสา, คาน, พื้น, ผนัง, เพดาน, บันได โดยแต่ละส่วนล้วนใช้ปูนซีเมนต์เป็นส่วนประกอบ ซึ่งแตกต่างประเภทกันออกไปตามความเหมาะสม

ดังนั้น เพื่อช่วยให้ทุกคนเลือกปูนซีเมนต์ได้อย่างเหมาะสมกับรูปแบบงานรีโนเวทที่จะต้องใช้ LifeSara จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับปูนซีเมนต์แต่ละประเภท จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันนน

Asset 11

ความแตกต่างระหว่างปูนซีเมนต์ กับ คอนกรีต

เชื่อว่าหลายคนน่าจะได้ยินคำว่า ปูน กับ คอนกรีต ผ่านหูมาบ้าง ทั้งรูปลักษณ์และการนำไปใช้งานที่คล้ายกัน ทำให้หลายคนคิดว่ามันคือวัสดุเดียวกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วสิ่งที่ปูนกับคอนกรีตต่างกันก็คือ

  • ปูนซีเมนต์ (Cement) คือ ผงปูนที่ได้จากกระบวนการแปรรูปจากโรงงาน ประกอบไปด้วย หินปูน หินดินดาน ดินเหนียว และแร่เหล็ก ซึ่งยังไม่มีการนำไปผสมกับส่วนประกอบอื่น ๆ อย่าง น้ำ ทราย หรือหิน
  • คอนกรีต (Concrete) สิ่งที่ได้จากการนำผงปูนมาผสมกับน้ำ ทราย กรวด หิน หรืออาจจะมีผสมกับน้ำยาอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งคอนกรีตจะอยู่ในสภาพของเหลวระยะหนึ่ง ก่อนที่จะเปลี่ยนสภาพเป็นของแข็ง
Asset 22

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์มีกี่ประเภท

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์

ในปัจจุบันปูนซีเมนต์หรือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีอยู่ 5 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน และองค์ประกอบของบ้านแต่ละส่วน 

  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา คือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดพื้นฐาน มีความแข็งแรงทนทาน และสะดวกต่อการนำไปใช้งาน เหมาะกับการนำไปใช้งานทั่ว ๆ ไป เช่น อาคาร, เสา, ท่อน้ำ, คอนกรีตเสริมเหล็ก และพื้น 
  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง มีคุณสมบัติในการต่อต้านเกลือซัลเฟตได้ในระดับปานกลาง เหมาะกับงานก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน หรือสิ่งก่อสร้างที่ต้องสัมผัสน้ำหรือดิน เช่น อ่างเก็บน้ำ เขื่อน ท่าเรือ เป็นต้น
  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่ให้กำลังอัดสูง มีความละเอียดสูง คุณสมบัติพิเศษคือแข็งตัวเร็วกว่า และรับแรงได้เร็วกว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทอื่น ๆ เหมาะกับงานที่ต้องการความไว หรือเร่งใช้งาน
  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่มีความร้อนต่ำ มีคุณสมบัติในการควบคุมความร้อน ไม่ให้มีความร้อนมากเกินไปในขณะที่ปูนกำลังแข็งตัว สิ่งก่อสร้างแตกร้าวได้ยาก เหมาะกับการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่ต้านซัลเฟตได้สูง มีความสามารถในการต้านทานเกลือซัลเฟตหรือสารที่เป็นด่างได้อย่างดี เหมาะกับงานก่อสร้างที่ต้องสัมผัสกับทะเลหรือดิน นอกจากนี้ ยังเป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่มีความแข็งตัวช้าที่สุดอีกด้วย

Asset 33

การเลือกปูนซีเมนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

นอกจากปูนซีเมนต์จะแบ่งประเภทตามคุณสมบัติแล้ว ยังแบ่งจากวิธีการใช้งานได้อีกด้วย ซึ่งแบ่งเป็น 3 งานหลัก ๆ  คือ งานโครงสร้าง งานก่อฉาบ และงานพิเศษ

ปูนซีเมนต์สำหรับงานโครงสร้าง เป็นงานที่ต้องการความแข็งแรงมากที่สุด ประกอบไปด้วยเสา, คาน, พื้น, บันได, ผนัง, หลังคาและประตูหน้าต่าง เพราะงานโครงสร้างเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นฐานรองรับน้ำหนักทุกอย่างของบ้าน อีกทั้งยังเป็นตัวเชื่อมส่วนต่าง ๆ ของบ้านเข้าด้วยกัน ซึ่งประเภทปูนซีเมนต์ที่เหมาะกับงานโครงสร้าง มีดังนี้

  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา เหมาะกับ เสา คาน พื้น หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง เหมาะกับ สะพาน รากฐาน หรือตอม่อ
  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่มีความร้อนต่ำ เหมาะกับ พื้น หรือเสา
  • ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ที่มีคุณสมบัติทนซัลเฟตได้สูง เหมาะกับ สะพานหรือเสาของท่าเรือ

ปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อฉาบ  เป็นงานที่ไม่ต้องการความแข็งแรงหรือแรงอัดมากเท่างานก่อสร้าง แต่ต้องการปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพในการยึดเกาะเป็นหลัก เพื่อความสะดวกในการก่ออิฐหรือฉาบปิดท้ายสำหรับตกแต่ง ปูซีเมนนต์ที่เหมาะกับงานก่อฉาบ ได้แก่

  • ปูนซีเมนต์ผสม คือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาที่ผสมหิน ปูน ทราย ลงไปเพิ่ม 
  • ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป คือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาที่ผสมทราย และน้ำยาผสมคอนกรีต
  • ปูนซีเมนต์ Masonry คือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาที่ผสมกับหินบดละเอียด

ปูนซีเมนต์สำหรับงานพิเศษ เหมาะกับงานที่ต้องการความสวยงามและคุณภาพที่ดี ควรใช้ปูนซีเมนต์ชนิดพิเศษ เพื่อให้ตอบโจทย์กับงานมากที่สุด แต่ราคาของปูนประเภทนี้ก็จะสูงตามขึ้นไปด้วย ตัวอย่างเช่น 

  • ปูนซีเมนต์ขาว ที่มีความสวยงาม ดูเรียบร้อย
  • ปูนซีเมนต์ขุดเจาะน้ำมัน ที่มีคุณสมบัติในการต้านทานเกลือซัลเฟต ความร้อน และแรงดันได้สูงเป็นพิเศษ
  •  
Asset 44

9 ขั้นตอนการก่อผนังให้สวยงาม ไม่มีรอยแตกร้าว

ปัญหาที่หลายคนมักจะเจอในการรีโนเวทบ้านคือ ผังมีรอยแตกร้าวและเกิดความเสียหายเกิด ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การผสมคอนกรีตผิดวิธี, การก่ออิฐผิดทาง, การก่อปูนหนาเกินไป รวมไปถึงสาเหตุเรื่องสภาพอากาศก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ทำให้บ้านดูไม่สวยงาม ดังนั้น ใครที่กำลังจะก่อผนัง ทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย 

    1. ก่อนก่ออิฐต้องนำอิฐไปแช่น้ำก่อน 1 ชั่วโมง เพื่อให้อิฐอิ่มน้ำและดูดซึมน้ำไปจากปูน 
    2. นำอิฐที่แช่น้ำจนเปียก ไปตากลมให้ผิวด้านนอกแห้งหมาด 
    3. จากนั้นก่ออิฐแบบสลับแนว เพื่อเพิ่มความแข็งแรง  
    4. ควรก่อชั้นปูนให้หนา 1-1.5 เซนติเมตร ไม่ควรก่อให้หนามากเกินไปกว่านี้ เพราะอาจจะทำให้ปูนทรุดตัวง่ายและเกิดรอยแตกร้าว
    5. ติดตั้งเสาเอ็นและคานทับหลัง ที่มีความกว้างมากกว่า 15 เซนติเมตร ไว้ทุก ๆ ระยะความกว้าง 2.5 เมตร และความสูง 1.5 เมตร เพื่อกระจายน้ำหนักของอิฐ 
    6. มีเสาเอ็นที่มุมผนัง เพื่อยึดตัวอิฐและทำให้ผนังแข็งแรงขึ้น 
    7. ใช้เหล็กเส้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 6 มิลลิเมตร เสียบเข้าไปในเสาคอนกรีต เพื่อป้องกันไม่ให้อิฐเคลื่อนตัวหลุดออกจากแนวเสา  
    8. ควรฉาบปูนด้วยเครื่องผสมปูน เพราะจะทำให้ปูนจะเรียบเนียนเสมอกัน และยังช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของช่างลงด้วย  
    9. หลังฉาบผนังเสร็จแล้ว ให้รดน้ำเพื่อบ่มผนัง วันละอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วง 3-7 วันแรก เพื่อไม่ให้ตัวปูนคลายน้ำออกมาเร็วเกินไป และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ปูนอีกด้วย
Asset 55

ข้อควรระวังในการใช้ปูนซีเมนต์

ในตัวของปูนซีเมนต์ มีอันตรายต่อร่างกายอยู่ไม่น้อย หากเข้าไปในร่างกาย หรือสัมผัสกับผิวโดยตรงเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้งานปูนซีเมนต์ มีข้อควรระวังและวิธีแก้ไขสถานการ์เฉพาะหน้า ดังนี้

  • หลีกเหลี่ยงการสัมผัสโดยตรง
    • ต้องระมัดระวังไม่ให้ปูนซีเมนต์เข้าปากหรือตาด้วย ไม่ว่าจะเป็นผงปูนหรือปูนที่เปียกชื้นก็ตาม 
    • หากปูนซีเมนต์สัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง เพราะปูนซีเมนต์จะทำลายผิวหนังชั้นนอกและผิวหนังชั้นใน ก่อให้เกิดแผลไหม้พุพองได้ ต้องรีบล้างออกให้เร็วที่สุด 
    • ถ้าปูนซีเมนต์กระเด็นเข้าตา อาจจะเกิดบาดแผลที่กระจกตาได้ ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที ล้างต่อเนื่องอย่างน้อย 15 นาที และรีบไปพบแพทย์โดยด่วน 
    • ในกรณีที่ปูนซีเมนต์เข้าไปในปาก จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย ให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ  ห้ามอาเจียน และให้รีบไปพบแพทย์
  • สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดระหว่างการทำงาน ต้องสวมเสื้อผ้าอย่างมิดชิด เพื่อให้แน่ใจว่าปูนซีเมนต์จะไม่แทรกซึมเข้ามาโดนผิวหนังได้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงมือกันน้ำ รองเท้าบูท หรือแว่นตานิรภัย เพื่อช่วยป้องกันอันตรายจากปูนซีเมนต์
  • ปูนซีเมนต์ส่งผลต่อระบบหายใจ ในการทำงานผงปูนซีเมนต์จะลอยอยู่อากาศ อาจจะสูดดมเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองในเยื่อบุโพรงจมูกและทางเดินหายใจ เสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง หากมีอาการแสบจมูกหรือหายใจติดขัด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

สำหรับใครที่มองหา “วัสดุอื่นในการรีโนเวทบ้าน”  ตามอ่านต่อตรงนี้ได้เลยยยย