เดินทางมาถึงเรื่องที่ 6 จาก 7 กันแล้ว การทำห้องน้ำใหม่ ถือว่าเป็นเรื่องที่หลายคนอยากลองทำด้วยตัวเองดูก่อน อาจจะด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณหรือช่างทิ้งงาน ทำให้เกิดปัญหาตามมาคืองานไม่คืบหน้า การลงมือทำเองน่าจะเป็นวิธีที่เร็วที่สุด สำหรับใครที่ไม่สามารถลงมือทำเองได้
————————————————–
วันนี้ LifeSara มาแนะนำขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำห้องน้ำใหม่กับทุกคน เพื่อที่จะเรียงลำดับขั้นตอนได้การทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญจะได้สื่อสารกับทีมช่างหรือผู้รับเหมาแบบเข้าใจตรงกันด้วย โดยจะมีอยู่ 5 ขั้นตอนหลัก จะมีขั้นตอนอะไรบ้าง ไปดูกันเลยยยย
เตรียมพื้นที่ในการทำห้องน้ำ
คือขั้นตอนแรกและสำคัญมาก เพราะถ้าเตรียมพื้นที่ดี ส่วนที่เหลือจะราบรื่น
ในขั้นตอนแรกคือการเตรียมพื้นที่ห้องน้ำ อาจจะต้องมีการทุบผนังบางส่วน เลาะพื้นเดิมออก หรือแซะชั้นสีเดิมออกให้หมด
- ขั้นตอนแรกคือการเลาะกระเบื้องที่พื้นและผนังเดิมออกให้หมด ใครที่จะรีโนเวทแล้วทำขั้นตอนนี้แนะนำให้จ้างช่างผู้เชี่ยวชาญ เพราะการเลาะผนังต้องใช้ค้อนและสิ่วในการทำงาน อาจจะทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งานได้
- ขั้นตอนต่อมาคือการทุบพื้นเพื่อวางงานระบบ เช่น ท่อทำดี ท่อน้ำทิ้ง เพื่อให้ได้ตำแหน่งที่จะวางสุขภัณฑ์ ในขั้นตอนนี้ต้องใช้สว่านหรือเครื่องมือหนักในการทำ ควรให้ช่างทำเพื่อความปลอดภัย
- ขั้นตอนสุดท้ายคือการทำความสะอาดพื้นที่ ย้ายเศษพื้นเก่าออกจากพื้นที่ให้หมด เพื่อความสะดวกในการทำงาน
การติดตั้งงานระบบ
เป็นส่วนที่ต้องวางแผนให้ดีและครบถ้วน เพราะกลับมาแก้ยากมาก
เมื่อเตรียมพื้นที่เสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการติดตั้งงานระบบ ไม่ว่าจะเป็น ท่อน้ำประเภทต่าง ๆ และระบบไฟฟ้า โดยพื้นฐานแล้วการเดินระบบน้ำประปาในห้องน้ำมีขั้นตอนไม่ยาก ถ้าเราเข้าใจว่าท่อแต่ละเส้นทำหน้าที่อะไรบ้าง พร้อมกับมีอุปกรณ์ครบ ก็สามารถติดตั้งงานท่อน้ำประปาในห้องน้ำได้แล้ว
————————————————–
- ปิดเส้นทางส่งน้ำทั้งหมดที่ส่งเข้ามาห้องน้ำ ให้ปิดวาล์วทั้งหมด เพื่อไม่ให้น้ำไปรบกวนช่างหรือคนที่กำลังทำงานอยู่
- ท่อที่ใช้ในระบบประปาห้องน้ำมีอยู่ด้วยกัน 5 เส้น คือ ท่อน้ำร้อน – น้ำเย็นสำหรับอ่างอาบน้ำ ท่อน้ำร้อน – น้ำเย็นสำหรับอ่างล้างหน้า และท่อน้ำเย็นสำหรับส้วมหรือชักโครก โดยทั่วไปจะเดินท่อฝังในผนัง จากนั้นจะทำงานฉาบปิดอีกรอบเพื่อความสวยงาม
- ต่อมาคือการต่อท่อน้ำทิ้ง สำหรับชักโครกต้องใช้ท่อพีวีซีขนาด 3 นิ้ว และ 4 นิ้ว หลังจากที่เชื่อมท่อทองแดงกับท่อน้ำทิ้งเสร็จแล้ว ให้ตรวจสอบว่าท่อทองแดงมีองศาลาดลงต่ำพอที่จะทำให้น้ำไหลไปเองได้หรือไม่
- ท่อน้ำทิ้งของอ่างล้างหน้าต้องมีขนาด 1.5 นิ้ว และของอ่างอาบน้ำใช้ขนาด 2 นิ้ว
- เมื่อติดตั้งท่อทั้งหมดแล้ว ให้เปิดวาล์วน้ำเพื่อตรวจเช็คว่าท่อน้ำให้งานได้ตามปกติดี
- ส่วนขั้นตอนการติดตั้งงานระบบไฟฟ้า ควรให้ช่างไฟฟ้าเข้ามาจัดการ การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็น ปลั๊กไฟ สวิตซ์ไฟฟ้า ควรติดตั้งสายดินและเซอกิตเบรกเกอร์ที่สามารถตัดไฟได้ทันที เพื่อป้องกันเวลาเกิดไฟรั่ว
- ควรติดตั้งปลั๊กให้สูงจากก๊อกน้ำของอ่างล้างหน้า เพื่อป้องกันน้ำกระเด็น
- ตัวปลั๊กและสวิตซ์ต้องกันความชื้นได้ด้วย เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
การติดตั้งงานพื้น
ความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นสิ่งที่สำคัญของงานพื้น
- หลังจากเตรียมพื้นที่และวางงานระบบเรียบร้อยแล้ว ช่างจะทำการเทปูนทับลงไปและไล่ระดับ จากนั้นเกลี่ยพื้นให้ลาดเอียง
- โดยพื้นห้องน้ำและห้องส้วมจะมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 100 ส่วน และมีจุดระบายน้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดบนพื้นห้อง
- จากนั้นช่างจะทำการปูกระเบื้อง ในส่วนนี้ควรเลือกใช้กระเบื้องที่ผิวด้านและหยาบ เพื่อป้องการอุบัติเหตุจากพื้นลื่น
การติดตั้งงานผนัง
ควรเลือกกระเบื้องที่สวยงามและทำความสะอาดง่าย เพื่อป้องกันเชื้อรา
- ขั้นตอนแรกเลยก็คือการเตรียมพื้นผิวของผนัง ให้พร้อมสำหรับการปูกระเบื้อง
- ทำได้โดยการใช้กระดาษทรายขัดผนังให้เรียนไม่มีเสี้ยนหนาม
- ผนังควรเรียบ ไม่ควรมีส่วนที่นูนออกมา หรือเป็นหลุม เพราะจะทำการปูกระเบื้องไม่เรียบเนียน
- หลังจากนั้นช่างจะทำการกำหนดตำแหน่งที่จะปูกระเบื้องผนัง วัดระยะและคำนวนพื้นที่ เพื่อให้ได้ตำแหน่งของการปูกระเบื้อง
- ในการปูกระเบื้อง ถ้าขนาดไม่พอดีกับพื้นที่ จะต้องมีการตัดกระเบื้องโดยการใช้แท่นตัดกระเบื้องแทน ขั้นตอนนี้ควรให้ช่างทำเพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายสูงมาก
- ต่อมาคือการผสมปูนกาวเข้ากับน้ำ เพื่อฉาบปูนกาว
- เมื่อฉาบปูนกาวเรียบร้อยแล้ว ช่างจะนำเอากระเบื้องไปปูตามตำแหน่งที่กำหนดเอาไว้ โดยการปูทีละแผ่น เริ่มต้นปูจากด้านล่างขึ้นด้านบน
- ระวังอย่าให้เกิดช่องอากาศ และเว้นระยะห่างประมาณ 2 มิลลิเมตร ระหว่างกระเบื้องแต่ละแผ่นด้วย
- เมื่อปูกระเบื้องเสร็จแล้ว ให้ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน เพื่อให้ปูนกาวแห้งสนิทและยึดตัวกระเบื้องเข้ากับผนังจนแน่น
การติดตั้งสุขภัณฑ์
ต้องมีความเชี่ยวชาญพอสมควร ถ้ามีความมั่นใจก็ลงมือติดตั้งด้วยตัวเองได้
ขั้นตอนสุดท้ายคือการติดตั้งวัสดุและสุขภัณฑ์ต่าง ๆ ในห้องน้ำ ซึ่งขั้นตอนนี้มีทั้งส่วนที่ควรใช้ช่างที่เชี่ยวชาญ และส่วนที่เพื่อน ๆ สามารถทำด้วยตัวเองได้
————————————————–
- การติดตั้งโถสุขภัณฑ์หรือชักโครก ต้องทำการแซะยาแนวเดิมและย้ายชกโครกเดิมออก จากนั้นใส่ชักโครกใหม่เข้าไปแทน และยาแนวด้วยซีเมนต์ขาว หลังจากติดตั้งเสร็จให้ปล่อยทิ้งไว้ 1 วัน ค่อยเริ่มใช้งานได้
- การติดตั้งอ่างล้างหน้า เริ่มที่การตรวจสอบระยะท่อน้ำดีและท่อน้ำทิ้งให้เหมาะสมกับท่องานระบบ โดยช่างจะกำหนดตำแหน่งกระดาษแม่แบบเพื่อให้อ่างล้างหน้าชิดผนังไม่คลาดเคลื่อน จากนั้นยกอ่างล้างหน้าวางบนตำแหน่งที่กำหนดและยิงอุปกรณ์ยึดแขวนให้แน่นหนาทุกจุด พร้อมติดตั้งก๊อกน้ำเข้ากับเคาน์เตอร์ และเชื่อมต่อเข้ากับท่อน้ำดี
- การติดตั้งอ่างอาบน้ำ ช่างจะเริ่มจากการตรวจเช็กขนาดและระยะของท่อน้ำทิ้งที่เราเตรียมไว้ก่อน จากนั้นยกอ่างอาบน้ำมาวางในตำแหน่งที่กำหนด และวางสะดืออ่างให้ตรงกับปากท่อน้ำทิ้ง และต่อเข้ากับท่อน้ำดีและท่อน้ำทิ้ง สุดท้ายคือการยาซิลิโคนป้องกันการรั่วซึม
————————————————–
เรื่องถัดไปคือ การเลือกใช้สุขภัณฑ์พร้อมวิธีติดตั้ง จะมีอะไรบ้างติดตามได้ที่ลิงค์นี้เลย
สำหรับใครที่มองหา “ขั้นตอนอื่น ๆ ในการรีโนเวทห้องน้ำ” เพื่อความรวดเเร็วในการทำงาน ตามอ่านต่อตรงนี้ได้เลย