เข้าสู่ยุควัยทำงานที่สามารถ Work From Anywhere ไม่ว่าที่ไหนก็ทำงานได้อย่างสบายใจ ถ้าหากว่าสถานที่หรือบรรยากาศนั้นๆ มีผลถึงสมอง รวมถึงจิตใจของเราให้มีสมาธิมากขึ้น  ด้วยเหตุนี้มนุษย์เงินเดือน ฟรีแลนซ์ หรือแม้แต่นักเรียน นักศึกษาที่จับกลุ่มกัน จึงเลือกตัดสินใจที่จะทำงานใน Co-Working Space ที่เป็นเหมือนสถานที่ให้เช่าระดมความคิด อีกทั้งยังเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานให้พวกเขาได้ผ่อนคลาย จนสามารถสัมฤทธิ์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวของธุรกิจ Coworking Space นั้น เป็นบริการมอบพื้นที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามานั่งใช้บริการหรือนั่งทำงาน ซึ่งลูกค้ามีหลากหลายแบบ บ้างก็ต่างที่ทำงาน บ้างก็กลุ่มเดียวกัน แต่ถึงแม้ไม่รู้จักกัน แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาที่ใหญ่ในการทำงาน เพราะทุกคนมักให้ความสนใจแค่หน้าที่ของตัวเอง จึงเป็นอีกทางเลือกใหม่สำหรับคนที่ไม่อยากไปนั่งคาเฟ่ แต่ต้องการห้องประชุมขนาดเล็ก โต๊ะทำงานชิวๆ เก้าอี้สบายๆ รวมถึงอินเทอร์เน็ตดีๆ พื้นที่สำหรับรับประทานอาหาร หรือพื้นที่ตามการใช้สอย ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงาน 

ด้วยเหตุนี้ Co-Working Space จึงมีความต้องการมากในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าในกรุงเทพเราจะสามารถพบได้ง่าย แต่รู้หรือไม่? ว่าต่างจังหวัดแทบไม่มีเลยนะ แอดคิดว่านี้อาจเป็นจุดสำคัญในการเปลี่ยนอนาคตธุรกิจ CoWorking Space ให้ขยายกว้างขึ้นเพื่อครอบคลุมหลายๆ จังหวัดก็เป็นได้!

ในวันข้างหน้าคุณอาจได้เห็นธุรกิจ Coworking space มากมายมากขึ้น ด้วยเหตุนั้นการเปิดเป็นธุรกิจตัวเองก่อนใคร จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยในการลงทุนสร้าง พวกเรา Lifesara จึงอยากนำข้อควรรู้ดีๆ สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่หรือผู้ที่สนใจ ว่าก่อนทำธุรกิจ Co-Working Spance มีอะไรบ้างนะ? ที่ทำให้เราสามารถเปิดธุรกิจนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งยังเปิดได้ในระยะยาวด้วย ไปดูกันเลยย!!

  1  

จดทะเบียนนิติบุคคล🏦

ข้อควรรู้ข้อแรกสำหรับการจะทำธุรกิจ Co-working space ก่อนอื่นเราต้องเป็นเจ้าของหรือมีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จุดประสงค์เพื่อต้องการแบ่งกำไรและความรับผิดชอบจากธุรกิจนั้นร่วมกัน โดยต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ซึ่งมีจดทะเบียนทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ 

1. คู่มือสำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 
2. คู่มือสำหรับบริษัทจำกัด 
3. คู่มือสำหรับบริษัทมหาชนจำกัด

📌ถ้าไม่ปฏิบัติ อาจถูกปรับ ตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499

  2  

จดทะเบียนพาณิชย์ 👭

ข้อควรรู้ข้อที่ 2 หากทำธุรกิจ Co-Working Space โดยเป็นเจ้าของกิจการคนเดียว หรือคณะบุคคล หากเราสามารถขายสินค้าได้ 20 บาทขึ้นไปต่อวัน หรือมีสินค้าไว้เพื่อขายมูลค่ารวม 500 บาทขึ้นไป  (ยกเว้นขายเร่ และแผงลอย) เราต้องจดทะเบียนพาณิชย์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนนะ เช่น สำนักงานเขต เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมี 2 ประเภท ได้แก่ 

  1. จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับแบบุคคลธรรมดา  
  2. จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคลและกิจการร่วมค้า
     

*สามารถอ่านหลักเกณฑ์ได้ที่นี่เลย 
📌 ถ้าไม่ปฏิบัติอาจถูกปรับ ตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499

  3  

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 💴

ข้อควรรู้ข้อที่ 3 หากทำธุรกิจ Co-working space ที่มีรายรับมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี เราต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่สำนักงานบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา สามารถอ่านหลักเกณฑ์ได้ที่นี่เลย

📌 ถ้าไม่ปฏิบัติ อาจถูกปรับ จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  4  

ขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ 🛒

ข้อควรรู้ข้อที่ 4 หากทำธุรกิจ Co-working space หากมีการนำสิ่งของมาวาง หรือขายของบนฟุตบาท หรือใช้พื้นที่สาธารณะ 

อันดับแรกเราต้องขออนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ซึ่งรวมถึง สถานที่หรือทางซึ่งไม่เกี่ยวกับเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้ จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด

📍หมายเหตุปัจจุบัน กรุงเทพฯ ได้ยกเลิกการอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่แล้ว แต่มีบางพื้นที่ในต่างจังหวัดยังคงต้องมีการอนุญาตอยู่

📌ถ้าไม่ปฏิบัติ อาจถูกปรับตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535

  5  

ขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายหรือสะสมอาหาร 🍲🍕

ข้อควรรู้ข้อที่ 5 หากทำธุรกิจ Co-working Space มีการขายอาหารหรือเครื่องดื่ม 

หากต้องให้มีผู้สัมผัสอาหาร รวมถึงคนเสิร์ฟและคนล้างภาชนะ ต้องเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับผู้สัมผัสอาหาร ซึ่งรวมถึงเชฟ ผู้เตรียมอาหาร ผู้ปรุงอาหาร ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ลำเลียงอาหาร ผู้ขนส่งอาหาร ผู้เก็บล้างภาชนะอุปกรณ์

  1. หากพื้นที่ร้าน “น้อยกว่า” 200 ตารางเมตร ต้องแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายหรือสะสมอาหาร ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น สำนักงานเขต เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  2. หากพื้นที่ร้านมากกว่า 200 ตารางเมตร ต้องขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายหรือสะสมอาหาร ที่ สำนักงานเขต, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด


📌 ถ้าไม่ปฏิบัติ
อาจถูกปรับ จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535

  6  

ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 🚨

ข้อควรรู้ข้อที่ 6 หากธุรกิจ Co-Working Space ของเรามีการใช้เครื่องอบขนมปัง เครื่องคั่วกาแฟ หรือแม้แต่ การทำอาหารหรือเครื่องดื่มในปริมาณมากจนอาจรบกวนผู้อื่นๆ เช่น มีเสียงดัง หรือส่งกลิ่นเหม็นที่รุนแรง ซึ่งเป็นการรบกวน 

รวมถึงการผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุต่างๆ  เราจะต้องไปขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ที่สำนักงานเขต สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร และสำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถติดต่อได้ที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนนะ! 

📌 ถ้าไม่ปฏิบัติอาจถูกปรับ จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535

  7  

ขออนุญาตครอบครองวัตถุอันตราย⚠️

ข้อควรรู้ข้อสุดท้าย สำหรับคนทำธุรกิจ Co-working Space ถ้าธุรกิจเรามีการครอบครองหรือจำเป็นต้องใช้ก๊าซหุงต้ม

  1. หากมีก๊าซหุงต้มน้อยกว่า 1,000 กก. (ประมาณ 20 ถังใหญ่) ต้องแจ้งครอบครองวัตถุอันตรายที่ ศูนย์บริการธุรกิจพลังงาน สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ หรือ สำนักงานพลังงานจังหวัด สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด 
  2. หากมีก๊าซหุงต้มมากกว่า 1,000 กก. ประมาณ 20 ถังใหญ่  ต้องขออนุญาตครอบครองวัตถุอันตรายที่ ศูนย์บริการธุรกิจพลังงาน สำหรับพื้นที่กรุงเทพ หรือ สำนักงานพลังงานจังหวัด สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัด 


📌 ถ้าไม่ปฎิบัติ อาจถูกปรับ จำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับตาม พ.ร.บ. ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542