คนที่อยากตกแต่งบ้านหรือที่ทำงาน ด้วยไฟ Magnetic Track แต่ไม่รู้ว่าควรติดตั้งยังไง หรือเลือกใช้ไฟแบบไหนดี วันนี้ LifeSara มีทริคการเลือก และติดตั้งไฟ Magnetic Track มาแนะนำทุกคนให้รู้จักกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสวยงาม โคมที่มีให้เลือกหลากหลายแบบ รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนโคมที่ทำได้ง่ายและอิสระตามความต้องการ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปทำความรู้จักกับเจ้า Magnetic Track Light พร้อมกันเลยยย

Asset 11

ทริคเลือกติดตั้งไฟ Magnetic Track Lights

magnetic track lights

Magnetic Track Light เป็นไฟลักษณะเดียวกับไฟ Track Light ที่ต้องทำการติดตั้งตัวราง เพื่อรองรับการใส่โคมไฟ Magnetic ฉะนั้นการเลือกจุดติดตั้งจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ ก่อนที่จะเลือกรางไฟ 

โดย Magnetic Track นั้นมีให้เลือกหลากหลายรุ่น ควรเลือกโคมให้เหมาะสมกับหม้อแปลงที่ต่อเข้ารางไฟ เช่น หม้อแปลงรุ่น 48V ควรใช้คู่กับโคม 48V

 ทริคการเลือกหม้อแปลง ควรคำนวณจำนวนวัตต์ของโคมที่ใช้รวมกัน ให้สัมพันธ์กับขนาดวัตต์หม้อแปลง โดยวัตต์ที่ใช้ ไม่ควรเกิน 80-90% ของกำลังวัตต์หม้อแปลง เช่น หม้อแปลง 100 วัตต์ ควรใส่โคมและนับรวมกันได้ไม่เกิน 80 วัตต์ รางไฟ Magnetic มีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่

  • รางแบบฝัง RECESSED 
  • รางแบบติดลอย SURFACE
  • รางแบบแขวน (ใช้อุปกรณ์สลิง ร่วมกับ รางติดลอย SURFACE)
  1.  
Asset 22

ราง Magnetic แบบฝัง (RECESSED)

ตัวรางไฟจะมีปีกยื่นออกจากตัวราง เพื่อรองรับกับฝ้าเพดาน การติดตังรางแบบฝังจึงเหมาะกับบ้านที่มีการวางแผนติดตั้งไฟ Magnetic Track Light ตั้งแต่การออกแบบ เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้ง ต้องติดตั้งรางควบคู่ไปกับการทำฝ้า เพื่อเสริมโครงสร้างให้แข็งแรงและรับน้ำหนักได้ดี

ทริคการติดตั้งรางแบบฝัง คือ การเสริมความแข็งแรงโดยยึดตัวรางเข้ากับท้องพื้นชั้น 2 หรือโครงสร้างหลังคาด้วยสลิงและเหล็กสตัด จากนั้นปรับระดับปีกรางฝังให้พอดีกับระยะฝ้าเพดาน (ขนาดฝ้ามาตรฐาน 9 มิลลิเมตร)

Asset 33

ราง Magnetic แบบติดลอย (SURFACE)

ตัวรางไฟแบบติดลอยสามารถยึดกับฝ้าได้โดยตรง เพียงแค่ยึดอุปกรณ์เสริมเข้ากับฝ้าเพดานหรือจุดที่ต้องการติดตั้ง ข้อดีของราง Magnetic แบบติดลอย คือ ติดตั้งได้ง่าย และกับพื้นที่หลากลายแบบ อีกหนึ่งทริคสำคัญ คือรางแบบติดลอย สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์แขวน และเปลี่ยนเป็นรางแบบแขวนได้

Asset 44

รางแบบแขวน

เพียงใช้อุปกรณ์สลิง ร่วมกับ รางติดลอย SURFACE  ก็สามารถทำเป็นแบบรางแบบแขวนได้ โดยรางแบบแขวนยังสามารถปรับระดับให้เหมาะสมกับพื้นที่อีกด้วย

Asset 55

เตรียมอุปกรณ์และขั้นตอนการติดตั้ง Magnetic Track Light

การเตรียมอุปกรณ์ติดตั้ง โคมไฟ Magnetic Track Light อันดับแรกเราจะต้องรู้ตำแหน่งในการติดตั้ง ความยาว และการวางรางไฟที่ต้องการ เพื่อเตรียมอุปกรณ์ให้ครบ การติดตั้งสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ โดยช่างผู้เชียวชาญหรือมีประสบการณ์ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

วัสดุและอุปกรณ์สำหรับติดตั้ง Magnetic Track

  1. ราง Magnetic Track Light จาก SL Lighting
  2. โคมไฟ Magnetic Track Light จาก SL Lighting
  3. หม้อแปลง Magnetic 48V กำลังวัตต์ให้คำนวนจาก จำนวนรวมวัตต์โคม
  4. Attach Module (ตัวยึดต่อราง) กรณีต่อเพิ่มความยาวราง
  5. Connect Module (ตัวเชื่อมไฟระหว่างราง) กรณีมีการต่อเพิ่มความยาวราง
  6. Corner Module (ตัวต่อรางเข้ามุม) กรณีต่อต่อรางเป็นตัวแอล หรือ สี่เหลี่ยม
  7. อุปกรณ์ช่างสำหรับการติดตั้ง สว่าน ไขควง สกรู พุก สายไฟ ฯลฯ

ขั้นตอนการติดตั้ง

  1. เลือกตำแหน่งในการติดตั้ง
    • วัด และกำหนดตำแหน่งที่ต้องการติดตั้งราง Magnetic Track Light บนเพดานหรือผนัง
    • ใช้เครื่องวัดระดับเพื่อให้แน่ใจว่ารางจะติดตั้งอยู่ในแนวตรง ติดแล้วไม่เบี้ยวหรือเอียง
  1. ทำเครื่องหมายจุดติดตั้ง
    • ทำเครื่องหมายในตำแหน่งที่ต้องการเจาะรูสำหรับสกรู โดยใช้ปากกาหรือดินสอ
    • ตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งด้วยเครื่องวัดระดับอีกครั้ง
  1. เจาะรู
    • จากนั้นใช้สว่านเจาะรูในตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้
    • ใส่พุกเข้าไปในรูที่เจาะเพื่อให้สกรูจับได้แน่น 
  1. ติดตั้งราง
    • ยึดราง Magnetic Track Light บนเพดานหรือผนังด้วยสกรู
    • ใช้ไขควงขันสกรูให้แน่น
  1. เชื่อมต่อสายไฟ
    • ตัดสายไฟให้มีความยาวพอดีกับตำแหน่งติดตั้ง
    • เชื่อมต่อสายไฟเข้ากับหม้อแปลงไฟฟ้า และเชื่อมต่อสายไฟกับราง Magnetic Track Light
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายไฟเชื่อมต่ออย่างถูกต้อง จำนวนวัตต์ของหม้อแปลงและโคมไฟสัมพันธ์กัน
  1. ติดตั้งโคมไฟ Magnetic Track Light
    • นำโคมไฟ Magnetic ไปติดตั้งลงบนรางโดยใช้แม่เหล็กที่มีอยู่ในตัวโคมไฟ
    • จากนั้นปรับตำแหน่งของโคมไฟให้ตรงกับตำแหน่งที่ต้องการใช้งาน
  1. ทดสอบการใช้งาน
    • เปิดไฟ และตรวจสอบว่าโคมไฟทำงานได้อย่างถูกต้อง
    • ปรับทิศทางของแสงตามความต้องการได้เลยยย

ก่อนการติดตั้งแนะนำให้เพื่อน ๆ  ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ทำการปิดไฟ หรือ ตัดกระแสไฟฟ้าก่อนเริ่มการติดตั้งเพื่อความปลอดภัย หากไม่มั่นใจในการติดตั้งเอง ควรให้ช่างไฟฟ้ามืออาชีพเข้ามาช่วยติดตั้ง 

Asset 66

การเลือกโคมไฟ Magnetic Track

การเลือกโคมไฟ Magnetic track light มีหลายปัจจัยที่ควรพิจารณาเพื่อให้ได้โคมไฟที่เหมาะสมกับความต้องการและการใช้งาน โดยปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่

  1. ความสว่าง (Lumen Output) เลือกโคมไฟที่มีระดับความสว่างเหมาะสมกับพื้นที่ที่จะติดตั้ง เช่น พื้นที่ทำงานควรมีความสว่างสูงกว่าเพื่อลดความเมื่อยล้าของดวงตา โดยแต่ละห้องมีค่าความสว่างที่เหมาะสม ดังนี้
    • ห้องนอน 300 – 400 ลูเมน
    • ห้องน้ำ 500 – 600 ลูเมน
    • ห้องครัว 300 – 400 ลูเมน
    • ห้องรับแขก 400 – 500 ลูเมน
  1. อุณหภูมิและสีของแสง (Color Temperature) แต่ละห้องต้องการสีและอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยมีความเหมาะสมดังนี้ 
    • ห้องนอน – 2400k
    • ห้องนั่งเล่น – 2700k (โทนอุ่น) และ 4000k (โทนเย็น)
    • ห้องรับประทานอาหาร – 3000k
    • ห้องทำงาน – 3500k
    • ร้านค้า – 5000k
    • พื้นที่จัดแสงผลงาน – 6000k
  1. มุมแสง (Beam Angle) โคมไฟที่มีมุมแสงแคบเหมาะสำหรับการเน้นจุดแสงเฉพาะที่ และโคมไฟที่มีมุมแสงกว้างเหมาะสำหรับการให้แสงสว่างทั่วพื้นที่

  2. ดีไซน์และรูปลักษณ์ (Design and Appearance)
    • เลือกดีไซน์ที่เข้ากับสไตล์ของห้อง เช่น แบบโมเดิร์น, คลาสสิก หรืออินดัสเทรียล
    • ตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการผลิตว่ามีความทนทานและคุณภาพดี
  1. การปรับทิศทาง (Adjustability)
    • เลือกโคมไฟที่สามารถปรับทิศทางของแสงได้เพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน
    • ตรวจสอบว่าการปรับทิศทางทำได้ง่ายและมั่นคง
  1. ความเข้ากันได้กับระบบไฟฟ้า (Compatibility with Electrical System)
    • ตรวจสอบว่าโคมไฟมีแรงดันไฟฟ้า และกำลังไฟที่เหมาะสม กับระบบไฟฟ้าในบ้านหรืออาคาร
      แนะนำให้ใช้ หม้อแปลงไฟเข้ารางแม่เหล็ก Magnetic Power Supply เพื่อปรับกำลังไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน
    • ตรวจสอบว่ามีการติดตั้งที่เข้ากันกับราง Magnetic track light ที่มีอยู่หรือไม่
  1. ประหยัดพลังงาน (Energy Efficiency)
    • เลือกโคมไฟที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้หลอด LED ที่มีอายุการใช้งานยาวนานและประหยัดพลังงาน
  1. ราคา (Price)
    • เลือกโคมไฟที่มีราคาสมเหตุสมผล และตรงกับงบประมาณที่ตั้งไว้
    • ตรวจสอบการรับประกัน และบริการหลังการขาย
  1. ความปลอดภัย (Safety)
    • ตรวจสอบว่าโคมไฟมีการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย เช่น มาตรฐาน CE, UL หรือ TIS
    • ตรวจสอบว่ามีการป้องกันการกระแทก, การกันน้ำ หรือการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

ถ้าเป็นไปได้ ควรลองทดสอบการใช้งานโคมไฟในสถานที่จริงก่อนตัดสินใจซื้อ ขอคำแนะนำจากช่างไฟฟ้าหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้มั่นใจว่าโคมไฟที่เลือกเหมาะสมกับการใช้งานและปลอดภัยกับผู้ใช้

Asset 77

โคมไฟ Magnetic จาก SL Linhting

โคม Flood Light เป็นแสงแบบ General Light ตัวโคมเรียบเสมอขอบราง มีทั้งแบบตรงและแบบเข้ามุม ทำให้ออกแบบได้หลากหลายมากขึ้น เหมาะกับห้องที่ต้องการความสว่างอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องทำงานหรือห้องนั่งเล่น

โคม Floodlight Magnetic แบบเข้ามุม

โคม Floodlight Magnetic แบบตรง

โคม Grill Light เป็นแสงแบบ Accent Light คือ การจัดแสงที่ใช้ในการเน้นวัตถุหรือพื้นที่เฉพาะเจาะจง เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างบรรยากาศที่น่าสนใจในพื้นที่ เหมาะสำหรับการตกแต่งภายในบ้าน ยกตัวอย่างเช่น 

  • ห้องนั่งเล่น ใช้เพื่อเน้นภาพวาด, รูปปั้น, หรือชั้นวางของที่มีของตกแต่งสวยงาม
  • ห้องนอน ใช้เพื่อสร้างบรรยากาศโรแมนติกหรือเน้นหัวเตียงที่มีการตกแต่งพิเศษ
  • ห้องครัว ใช้เน้นพื้นที่ทำงานหรือชั้นวางของที่มีของตกแต่ง

โดยทาง SL Lighting มีให้เลือกถึง 3 แบบ ไม่ว่าจะเป็น

รุ่น GS เรียบเสมอขอบราง ติดแล้วดูสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย

รุ่น ZD-GS ที่สามารถพับและปรับองศาไฟได้ตามต้องการ

รุ่น KD-GS หมุมปรับหน้าโคมได้ ยืดหยุ่นตามการใช้งาน

โคม Track Light ไฟส่องเฉพาะจุด ส่วนใหญ่ใช้ในพื้นที่จัดแสดง ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่าย หรือผลงานศิลปะต่าง ๆ  มีหลายวัตต์ให้เลือก 7,12,15,18 วัตต์

โคม Pendant หรือโคมห้อยเพดาน เป็นโคมไฟที่แขวนจากเพดานด้วยสายไฟ, โซ่, หรือแท่งเหล็ก ซึ่งมีการออกแบบที่หลากหลายและเหมาะกับการใช้งานในหลาย ๆ บริบท ไม่ว่าจะเป็น ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องทานอาหาร รวมไปถึงห้องทำงาน เพื่อเพิ่มความสว่างและความสวยงามเฉพาะจุด 

โคม Neon วัสดุทำมาจากท่อยางซิลิโคน มีความยืดหยุ่นและโค้งงอได้ เหมาะสำหรับใช้ตกแต่งห้องนอนให้มีความสวยงาม เปลี่ยนบรรยากาศให้โรแมนติก หรือไซไฟได้ตามใจชอบ หรือจะติดตั้งในห้องประชุมเพื่อสร้างบรรยากาศของการสนทนา โดยแบรนด์ SL Lighting มีให้เลือก 2 แบบ คือ

  • แบบ 1 เมตร จะมีแสงให้เลือก 3000k 4000k 5000k และแสง RGB Red, Green, Blue
  • แบบ 2 เมตร จะมีแสงแบบ 3000k 4000k 5000k ให้เลือก
Asset 88

ข้อดีและข้อเสียของ Magnetic Track Light

ถึงแม้ว่า Magnetic track light  จะเป็นโคมไฟที่ได้รับความนิยมในช่วงหลัง ๆ เพราะมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน และติดตั้งง่าย แต่อาจจะมีข้อเสียที่ควรพิจารณาก่อนการตัดสินใจใช้งาน ฉะนั้นเราไปดูข้อดีและข้อเสียของ Magnetic track light กัน

ข้อดีของ Magnetic Track Light

  1. การติดตั้งและปรับเปลี่ยนง่าย
    • ติดตั้งและถอดโคมไฟออกจากรางได้ง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ
    • ปรับตำแหน่งของโคมไฟได้ตามต้องการ ทำให้ปรับแสงได้ตามต้องการเลย
  1. ความยืดหยุ่นสูง
    • เหมาะสำหรับการใช้งานในหลากหลายสถานที่ เช่น บ้าน, ร้านค้า, แกลเลอรี่, และสำนักงาน
    • สามารถเพิ่มหรือลดจำนวนโคมไฟบนรางได้ตามต้องการ
  1. ดีไซน์ทันสมัย
    • มีการออกแบบที่สวยงามและทันสมัย เหมาะกับการตกแต่งภายในที่ต้องการความหรูหราและมีสไตล์
  1. ประหยัดพลังงาน
    • โคมไฟส่วนใหญ่มักใช้หลอด LED ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงและประหยัดพลังงาน
    • ช่วยลดค่าไฟฟ้าและมีอายุการใช้งานยาวนาน
  1. การควบคุมแสงที่หลากหลาย
    • สามารถปรับทิศทางของแสงได้ตามต้องการ
    • มีหลายประเภทของโคมไฟให้เลือกใช้ เช่น Spotlights, Linear Lights, และ Pendant Lights

ข้อเสียของ Magnetic Track Light

  1. ค่าใช้จ่ายสูง
    • ราคาของ Magnetic track light มักสูงกว่าระบบแสงสว่างแบบอื่น เช่น หลอดไฟธรรมดาหรือโคมไฟฝังเพดาน
    • ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และบำรุงรักษาสูงกว่าไฟประเภทอื่น
  1. การติดตั้งต้องการความรู้เฉพาะทาง
    • แม้ว่าการติดตั้งจะง่าย แต่การเดินสายไฟ และการติดตั้งระบบอาจต้องการช่างไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญ
  1. การบำรุงรักษา
    • โคมไฟแม่เหล็กอาจต้องการการบำรุงรักษาเพิ่มเติมเพื่อให้ระบบแม่เหล็กและการเชื่อมต่อทำงานได้อย่างราบรื่น
  1. การเสื่อมสภาพของระบบแม่เหล็ก
    • ในบางกรณี ระบบแม่เหล็กอาจเกิดการเสื่อมสภาพเมื่อใช้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นหรือฝุ่นสูง

Magnetic Track เป็นงานดีไซน์ ที่คุณออกแบบได้ตามไลฟ์สไตล์ กับคนที่สนุกกับการแต่งบ้าน หากคุณชอบตกแต่งบ้าน Magetic Track ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ฉะนั้นหากสนใจ Magnetic Track  สามารถสอบถามเพิ่มเติ่มกับผู้เฉียวชาญ หรือ แบรนด์ SL Lighting ได้เลยค่ะ

สั่งซื้อและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่