เมื่อไหร่ที่เราเลือกรับน้องแมวเข้ามาในบ้าน นั้นหมายความว่าเขาคือหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว ถึงแม้ว่าน้องเหมียวจะเป็นสัตว์สี่ขาโลกส่วนตัวสูง เล่นบ้าง นิ่งบ้าง ดุบ้าง เอาใจยาก แต่นับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงอันดับต้นๆ ที่คนอยากเลี้ยงมากที่สุด และถูกทิ้งเยอะไม่ต่างกับสุนัขเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้นการตัดสินใจเลี้ยงแมว เราจึงต้องทำการบ้านอย่างหนัก และลบความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดู รวมถึงการให้อาหาร อย่างกรณี น้องแมวกินก้างปลา เป็นต้น เพราะงั้นสิ่งที่ดีที่สุดนั้นคือการให้อาหารอย่างเหมาะสมกับพวกเขา ซึ่งจะไม่ได้แค่ช่วยให้ขนสวยเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยให้สุขภาพดีขึ้น และยังห่างไกลโรค ป้องกันจากอันตรายอีกด้วย
หากเราให้อาหารแมวที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ดูแลไม่เพียงพอ หรือพาอุดอู้อยู่ในพื้นที่แคบ รวมถึงเลี้ยงแบบเปิด ก็มีสิทธิ์ที่จะกลายเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งระบบภูมิคุ้มกันอาจโดนทำลายโดยที่น้องแมวและเจ้าของอย่างเราไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นสิ่งที่ตามมาต่อจากนั้นคือโรคแมวแสนอันตราย ที่แฝงเข้ามาในตัวของน้องๆ ทีนี้ก็ถึงตาเราต้องมานั่งสังเกตอาการ และเรียนรู้แล้วว่า “น้องแมวของเราเสี่ยงเป็นโรคอะไรอยู่
พวกเรา Lifesara เลยจะพาทาสแมวทุกๆ คนมารู้จัก 8 โรคแมวที่ควรพึงระวังมากที่สุด เพื่อรู้ทัน และป้องกันก่อนที่จะสายเกินไปมาไว้แล้ว โดยจะมาบอกทั้งวิธีสังเกต และการดูแลรกัษาเบื้องต้นอีกด้วย ส่วนจะมีโรคอะไรบ้าง เราไปติดตามอ่านกันต่อเลยยย
นอกจากนี้พวกเรายังมีบทความเกี่ยวกับน้อนหมาน้อนแมวอื่นๆ ให้อ่านอีกด้วยนะ ใครอยากอ่านอันไหนเพิ่มเติม ก็ตามมาา!
> รวม 4 แบรนด์อาหารสุนัขเกรดพรีเมียม ดีต่อสุขภาพ โดนใจน้องหมา
> ส่อง 10 สายพันธุ์สุนัขน่าเลี้ยงสุดน่ารัก พร้อมพิกัดฟาร์มหมา!
> ส่อง 10 สายพันธุ์แมวน่ารักน่าเลี้ยงในไทย พร้อมพิกัดฟาร์มแมว!
1
โรคแมว : ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว
แมวที่ติดเชื้อไวรัสโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว (FIV) อาจไม่แสดงอาการจนกว่าจะมีการติดเชื้อครั้งแรกหลายปี ถึงแม้ว่าไวรัสจะออกฤทธิ์ช้า แต่ระบบภูมิคุ้มกันของแมวจะอ่อนแอลงอย่างมากเมื่อโรคยังคงอยู่ นี่เป็นเหตุที่ทำให้น้องแมวอ่อนแอ และอาจติดเชื้อจากสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย ฉะนั้นหากแมวติดเชื้อนี้เรายิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ และให้อยู่แต่ในสภาพแวดล้อมที่เครียด
🐈สาเหตุของโรคไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่วนใหญ่จะส่งต่อแมวสู่แมวที่มีบาดแผลกัดลึก ยิ่งแมวที่เลี้ยงภายนอกบ้านอาจเสี่ยงให้แมวตัวอื่นมาทำร้ายและเกิดแผลมากมายสูง และบางตัวอาจเกิดจากพันธุกรรม จากแม่แมวที่ติดเชื้อเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
🐈วิธีสังเกตโรคไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง
– โรคโลหิตจาง
– น้ำหนักลด
– เบื่ออาหาร
– ท้องเสีย
– เยื่อบุตาอักเสบ
– ขนร่วง
– พฤติกรรมเปลี่ยนไป
– ปัสสาวะบ่อยขึ้น
– ไข้
🐈วิธีดูแลรักษาและป้องกันแมวที่ติดไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง
– ควรเลี้ยงระบบปิด หลีกเลี่ยงไม่ให้ออกจากบ้าน เพื่อลดโอกาสติดต่อกับแมวที่ติดเชื้อ
– หากต้องการพาไปเดินเล่น ให้ใส่สายจูงจะดีที่สุด
– ปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีน FIV
– หากเพิ่งรับมาเลี้ยง ควรทำการตรวจสอบหาเชื้อ FIV ก่อนเข้าบ้าน
2
โรคแมว : ไวรัสมะเร็งเลือดขาว (FeIV)
ไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมวเป็นไวรัส RNA retrovirus ที่สามารถแพร่เชื้อได้ บอกเลยว่าเป็นไวรัสที่อันตรายเพราะสามารถเข้าไปยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างรุนแรง หากเมื่อไหร่ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จะนำไปสู่การติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคโลหิตจาง โรคไต และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นสาเหตุที่พบว่าแมวเสียชีวิตกันเยอะมาก ๆ
🐈สาเหตุของโรคไวรัสมะเร็งเลือดขาว (FeIV)
ไวรัส FeLV จะติดต่อผ่านการหลั่งของเหลวในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำลาย น้ำมูก ปัสสาวะ อุจจาระ และเลือด แต่โดยทั่วไปแล้วไวรัสนี้มักส่งผ่านการสัมผัสโดยตรง จากกระบะทราย ชามอาหารและน้ำพร้อมกัน นอกจากนี้อาจส่งต่อผ่านในครรภ์หรือทางน้ำนมแม่ได้อีกด้วย และระวังการถูกทำร้ายจากแมวนอกบ้านที่มีการติดเชื้อ
🐈วิธีสังเกตโรคไวรัสมะเร็งเลือดขาว (FeIV)
– เป็นไข้
– ฝี
– เบื่ออาหาร ง่วงอยู่เสมอ
– น้ำหนักลด
– เหงือกอักเสบ/ซีด
– ขนไม่เหมือนเดิม ดูสุขภาพไม่ดี
– ท้องร่วง อาเจียน
– ติดเชื้อทางเดินหายใจ
– พฤติกรรมเปลี่ยนไป
– อาการชัก
– ผิวหนังเรื้อรัง
– หายใจลำบาก
🐈วิธีดูแลรักษาและป้องกันแมวที่ติดไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง
– ควรให้อาหารที่สมดุลทางโภชนาการ ปราศจากเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ และผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ ซึ่งสามารถกักเก็บแบคทีเรียและปรสิต เพราะอาจนําไปสู่การติดเชื้อได้
– ควรมีพื้นที่สำหรับน้องแมวพักผ่อนในบ้าน และให้ห่างจากแมวตัวอื่น ๆ เพราะมีโอกาสให้เกิดโรคได้
– ควรพาแมวไปหาสัตวแพทย์ในทุก ๆ เดือน เพื่อตรวจสุขภาพและเลือดในร่างกาย
3
โรคแมว : โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
สำหรับโรคนี้มักพบในแมวที่มีขนยาวๆ จัดว่าเป็นเชื้อโรคชนิดสำคัญในแมวเพราะพวกมันจะอาศัยอยู่บนผิวชั้นนอก แม้แต่เล็บและเส้นขน ซึ่งโรคนี้ก็เป็นหนึ่งในโรคติดต่อ และแพร่กระจายจากการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อรา อาจผ่านด้วยการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์หรือบุคคลที่ติดเชื้อ ซึ่งง่ายต่อแมวขนยาว ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอ่อนแอ เป็นสาเหตุของกลากเกลื้อนนั่นเอง
🐈สาเหตุของโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
โรคผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อรา ทั้งทางตรงและทางอ้อม จากผ้าปูที่นอน จาน หรือวัสดุอื่นที่ปนเปื้อนผิวหนังของสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งลูกแมวมีสิทธิ์และแมวสูงอายุ แมวป่วย แมวเครียด มักจะพบความผิดปกติ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่ไม่แข็งแรง
🐈วิธีสังเกตโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
– ลักษณะขนมีความผิดปกติ
– ขนร่วงแหว่งเป็นวงกลม
– บางตัวอาจมีสะเก็ดหรือมีอาการคันร่วมด้วย
🐈วิธีดูแลรักษาและป้องกันแมวที่เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา
– ควรรักษาแมวผิวหนังที่ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ มั่นทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย
– หมั่นอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงทุกตัวในบ้านด้วยแชมพูคุณภาพ
– หมั่นซักที่นอน ฆ่าเชื้อของเล่น หลีกเลี่ยงเชื้อต่างๆ
– ควรดูดฝุ่นบ่อยครั้งเพื่อกำจัดขน และเซลล์ผิวหนังที่ติดเชื้อ
4
โรคแมว : ไข้หัดแมว
โรคไข้หัดแมวมักพบบ่อยมากในแมวอายุน้อย และในแมวทุกสายพันธุ์ซึ่งโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสพาร์โว หรือไวรัสในแมว (Feline Parvovirus) ที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ลูกแมวตาบอดได้อีกด้วย ฉะนั้นโรคนี้เลยเสี่ยงมากๆ สำหรับลูกแมว หรือบางทีแม่แมวอาจเกิดการแท้งได้เลย
ซึ่งโรคนี้ยังพบได้ตามสัตว์ตระกูลอื่น อย่าง แมวป่า สกั้งค์ มิ้งค์ แร็กคูน สิงโต เสือ เป็นต้นอีกด้วย บางทีโรคนี้ยังน่ากลัวในตรงที่ว่าสามารถเป็นโรคแทรกซ้อนอื่นตามมาเลยก็ว่าได้
🐈สาเหตุของโรคไข้หัดแมว
การติดไข้หัดแมวส่วนใหญ่เกิดจากการติดต่อโดยตรง จากแมวตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางอาหาร น้ำ กรง สภาพแวดล้อม ที่ขับถ่ายแมว รวมถึงอุจจาระ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเสี่ยงติดเชื้อไวรัสได้ง่าย หรือบางครั้งเสื้อผ้า อุปกรณ์ ของใช้ต่างๆ ของเราอาจเป็นพาหะนำเชื้อได้
🐈วิธีสังเกตโรคไข้หัดแมว
– เกิดอาการท้องเสีย
– อาเจียน
– มีไข้สูง
– ทรงตัวไม่ได้ ร่างกายอ่อนแรง
– ซึม
– เบื่ออาหาร
– ถ่ายเป็นเลือด
– ลำไส้หนาตัว
🐈วิธีดูแลรักษาและป้องกันแมวที่เป็นโรคไข้หัดแมว
– หากรู้ว่ามีอาการให้รีบไปพบสัตวแพทย์ทันที เพราะโรคไข้หัดแมวระยะเวลาฟักอยู่ที่ 2-7 วัน อัตราการตายจึงเสี่ยงสูงมาก อาจทำให้เกิดอาการช็อกจนเสียชีวิตได้
– ควรพาแมวไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคในทุกปี หาได้แล้วตามคลินิก โรงพยาบาลสัตว์
– ควรแยกแมวที่ป่วยออกจากตัวอื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
– ทำความสะอาดฆ่าเชื้อจุดเสี่ยงต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ผสมโซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรืออื่นๆ
5
โรคแมว : การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน/ โรคหวัดแมว
สำหรับโรคนี้จะเกิดขึ้นทางระบบทางเดินหายใจส่วนบนของแมว ตั้งแต่บริเวณจมูก คอ และไซนัส อาจทำให้น้องแมวมีความอ่อนไหวต่อการติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิด
ซึ่งโรคนี้นับว่าเป็นไวรัสที่พบบ่อยมากๆ ในทางเดินหายใจส่วนบน ถ้าติดเชื้อแล้ว แมวอาจเป็นพาหะนำโรคไปตลอดชีวิต ถึงจะดูไม่แสดงอาการ แต่ก็แพร่ไวรัสไปได้ง่ายมากๆ
🐈สาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
ส่วนใหญ่ไวรัสนี้จะติดต่อจากแมวสู่แมวผ่านการไอ จาม หรือแม้แต่กินอาหารใช้ชามร่วมกัน และไวรัสนี้มักเกี่ยวข้องกับความเครียดน้องๆ และสภาพความเป็นอยู่ และมีการวินิจฉัยว่าแมวที่อาศัยอยู่ในบ้าน หรือที่พักรวมแมวหลายตัวเอาไว้ มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมากที่สุด
🐈วิธีสังเกตโรคหวัดแมว
– น้ำมูกไหล
– เป็นไข้
– ไอ จาม
– น้ำมูกใสแต่มีสี
– สำลักน้ำลาย
– เบื่ออาหาร ไม่ค่อยกิน
– หายใจเร็ว
– มีแผลในจมูกและช่องปาก
– หายใจเปิดปาก
– ซึมเศร้า
🐈วิธีดูแลรักษาและป้องกันแมวที่เป็นโรคหวัดแมว
– ไม่ควรให้น้องแมวอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัด
– หากเริ่มมีอาการให้รีบไปหาสัตวแพทย์ทันที
– ควรให้อาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
– พยายามป้องกันไม่ให้ของเหลวจากแมว เผยแพร่สู่แมวตัวอื่นๆ
– ควรให้น้องแยกห้อง และดูแลในสถานที่โล่ง มีอากาศถ่ายเท
6
โรคแมว : โรคแมวอ้วน
โรคอ้วนเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่น้องแมวเป็นกันง่ายและมากที่สุด ทาสแมวบางคนหรือคนที่ผ่านไปผ่านมา เมื่อได้เห็นรูปร่างของน้องก็อาจทำให้รู้สึกว่าน่ารัก น่าเอ็นดู เห็นแล้วอยากฟัด หมั่นเขี้ยวจนน่ากอดมากยิ่งขึ้น แต่แท้จริงแล้วความน่ารักนั้นดันมาพร้อมกับโรคแทรกซ้อนที่บังตาไว้ และอาจก่อโทษต่อร่างกายเจ้าเหมียวอย่างโรคเบาหวาน ข้อต่ออักเสบ กระดูกเสื่อม ทางเดินปัสสาวะ รวมถึงโรคไขมันพอกตับ โดยที่ไม่รู้ตัวเลย
🐈สาเหตุของโรคอ้วนในแมว
สาเหตุหลักๆ ของโรคอ้วนในแมวเกิดจากร่างกายอยู่ในภาวะมีไขมันสะสมที่เนื้อเยื่อไขมันมากเกินไป ซึ่งโรคนี้ไม่ต่างกับมนุษย์เราเลย ซึ่งหลักๆ มาจากการกินอาหารมากไป หรือให้อาหารแบบไม่เป็นเวลา เห็นข้าวหมดและเติมตลอดเวลา รวมทั้งหมั่นให้รางวัลน้องเกินขีดจำกัดต่อวัน ไม่ออกกำลังกาย การเลี้ยงระบบปิดมากไป ให้อาหารไม่ถูกวัยอันควรของน้อง และการทำหมัน
🐈วิธีสังเกตโรคอ้วนในแมว
– ไม่กระโดด เลี่ยงที่สูง
– เหนื่อยง่าย
– นอนเยอะ
– มีขนร่วงผิดปกติ เพราะผิวเริ่มอ่อนแอลง
🐈วิธีดูแลรักษาและป้องกันโรคอ้วนในแมว
– วิธีดูแลที่ดีคือการให้น้องแมวกินอาหารที่ไม่ก่อความอ้วน ต้องถูกหลักโภชนาการ ทานสูตรที่มีส่วนผสมที่มีแต่ประโยชน์
– หมั่นให้ออกกำลังกาย พาเดินเล่น หากิจกรรมให้แมวได้เคลื่อนไหว
– หากน้ำหนักน้องแมวมากเกินไป ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์
– ควรแบ่งการให้อาหาร 2-3 วันต่อมื้อและให้ขนมหรือรางวัลแต่พอดี ตามถุงภาชนะที่แปะไว้
– ควรเลือกประเภทอาหารที่เหมาะสมกับวัยของน้องๆ
7
โรคแมว : โรคไตแมว
ขึ้นชื่อว่าโรคไต ไม่ว่าเกิดกับใครก็น่ากลัว ไตมีหน้าที่ขับของเสียต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งสำหรับโรคไตในแมวนี้ถือว่าเป็นโรคที่เจ้าของแมวพบกันบ่อยมากที่สุดในแมวอายุมาก ที่เป็นภัยร้ายที่อยากหลีกเลี่ยงกันมากที่สุด ซึ่งสำหรับโรคไตในแมวจะมีอยู่สองประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ ภาวะไตเฉียบพลัน จะเกิดอาการระยะสั้น แต่สำหรับภาวะไตวายเรื้อรัง มักจะเป็นผลในระยะยาว
🐈สาเหตุของโรคไตในแมว
สาเหตุหลักๆ ของโรคไตมักเกิดจากการอุดตันทางท่อปัสสาวะ นิ่วในไต รวมถึงการไหลเลือด และการปัสสาวะในไตลดลง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และสำหรับแมวที่กินอาหารประเภทฟอสพอรัสหรือโปรตีนสูง และพบเยอะในแมวอายุ 7 ปีขึ้นไป
🐈วิธีสังเกตโรคไตในแมว
– เบื่ออาหาร
– อาเจียน, ซึม
– ลมหายใจเหม็น
– ท้องเสีย
– หิวน้ำมาก
– ปัสสาวะเป็นเลือด
– น้ำหนักลดผิดปกติ
– เหงือกซีดเหลืองไม่ชมพู
🐈วิธีดูแลรักษาและป้องกันโรคไตในแมว
– วิธีในการดูแลแมวที่เป็นโรคไตส่วนใหญ่ต้องเลือกอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
– อาหารแมวต้องเหมาะสม
– พาแมวไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์
– การเปลี่ยนอาหารคุณภาพที่มีประโยชน์จะช่วยบรรเทาอาการน้องๆ ทั้งยังให้สุขภาพน้องแมวแข็งแรงขึ้นได้
– ลดอาหารที่เป็นจำพวกโปรตีน ฟอสฟอรัสสูงๆ
8
โรคแมว : โรคก้อนขนอุดตันทางเดินอาหารในแมว
เคยสังเกตกันไหมว่า ทำไมน้องแมวถึงชอบเลียขนตัวเองเป็นประจำ ซึ่งทุกคนคงทราบดีว่านั่นเป็นการทำความสะอาดขนในฉบับเหมียวๆ แต่ว่าภายใต้ความน่ารักและท่วงท่าการเลียที่งดงามแบบนั้น มันกำลังมาพร้อมกับเรื่องน่ากลัวบางอย่าง นั่นก็คือ โรคก้อนขนอุดตันทางเดินอาหาร ซึ่งโรคนี้เรียกได้ว่าอันตราย เพราะอาจทำให้น้องแมวอาเจียนบ่อย สำลักบ่อย และอาจเกี่ยวพันไปถึงลำไส้ และกะเพราะของน้องเลยก็ได้ น่าห่วงจนเราอดไม่ได้ที่จะต้องรีบพาน้องไปหาสัตวแพทย์แบบทันทีเลย
🐈สาเหตุของโรคก้อนขนอุดตันทางเดินอาหารในแมว
ก้อนขนในทางเดินอาหารของแมวเกิดขึ้นจากการที่แมวเลียทำความสะอาดขนของตัวเอง และในขณะนั้นเอง แมวบางตัวอาจอยู่ในภาวะขนร่วง หรืออยู่ในช่วงผลัดขน ทำให้ลิ้นของน้องๆ ที่มีความสากเหมือนหนามน้อยๆ จึงติดเข้าที่ลิ้นได้ง่าย และธรรมชาติของสัตว์ส่วนมากไม่สามารถคลายน้ำลาย หรือรู้ตัวก่อนทานบางอย่างเข้าไปได้เหมือนมนุษย์ การกลืนขนของแมวจึงเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีความน่าเป็นห่วงอีกว่า อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา อย่างโรคหอบหืดก็เป็นได้
🐈วิธีสังเกตโรคก้อนขนอุดตันทางเดินอาหารในแมว
– มีการขย้อนออกมาเป็นขน
– ไอแห้งบ่อยๆ
– สำลัก
– น้ำหนักตัวลดผิดปกติ
– เบื่ออาหาร ทานน้อยลง
– หากอุจจาระเป็นขนมากผิดปกติ ควรไปปรึกษาสัตวแพทย์
– ดุ มีความเครียด
– แอบไปกินหญ้า
🐈วิธีดูแลรักษาและโรคก้อนขนอุดตันทางเดินอาหารในแมว
– ควรดูแลทำความสะอาดน้องแมวอยู่เสมอ เพราะถ้าน้องแมวรู้สึกว่าตัวเองรู้สึกไม่สะอาดเมื่อไหร่ อาจเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเลียทำความสะอาดขนของตัวเอง
– ควรแปรงขนแมวสม่ำสมอ เพื่อช่วยลดปริมาณขนที่ขาดหลุดร่วง
– ไม่ปล่อยให้ขนของแมวยาวมากเกินไป การขยันเล็มขนไม่ได้ช่วยให้สะอาดเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยให้น้องสะดวกในการอุจจาระอีกด้วย
– การทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ตามสัดส่วนของโภชนาการ อย่างจำพวก พรีไบโอติกส์ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร รวมถึง ซิงค์และโอเมก้า ช่วยบำรุงผิวหนังให้แข็งแรงขึ้น
9
สร้างภูมิคุ้มกันธรรมชาติ ให้น้องเหมียวไกลโรค
ด้วย แค็ท เอ็นจอย (CAT n joy)
โรคแมวควรระวังทั้งหมดที่กล่าวไปทั้งหมด ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอทั้งสิ้น เพราะงั้นคงไม่มีทาสแมวคนไหนต้องการให้เกิดขึ้นกับแมวที่ตัวเองรักอย่างแน่นอน ทุกคนน่าจะรู้ดีว่าจริงๆ แล้ว แมวก็มีชีวิตไม่ต่างกับมนุษย์ ต้องกินอาหารดีๆ ต้องออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญสิ่งที่กินไปทั้งหมด
ด้วยเหตุผลนั้นเอง แค็ท เอ็นจอย (CAT n joy) เลยเป็นอาหารแมวอันดับต้นๆ ที่ทาสแมวให้คำแนะนำกันเยอะมากๆ เพราะนับว่าเป็นอาหารแมวที่พัฒนาโดยสัตวแพทย์และนักโภชนาการอาหารสัตว์เฉพาะทางเลย เลยได้รูปทรงขนาดเล็ก เคี้ยวง่าย กรอบ อร่อย ถูกใจน้องแมวแน่นอนนน~
ซึ่ง แค็ท เอ็นจอย เป็นแบรนด์อาหารและขนมที่เข้าใจธรรมชาติของแมว จึงคิดค้นและพัฒนา สูตรอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยพลังปกป้อง 3 ระดับ พร้อมกลิ่นหอมเย้ายวน รสชาติแสนอร่อย อาทิ
1. ไลซีน : เป็นกรดอะมิโนช่วยในการผลิตเม็ดเลือดขาวและสร้างแอนตี้บอดี้ ป้องกันการติดเชื้อไวรัส
2. พรีไบโอติกส์ : เป็นการเสริมสร้างสมดุลจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
3. ซิงค์ & โอเมก้า : ช่วยบำรุงผิวหนังให้แข็งแรง ปกป้องเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ภายใน
นอกจากนี้ยังมาพร้อมประโยชน์สำหรับน้องแมวอีกมากมาย เช่น
– ช่วยให้ผิวหนัง มีสุขภาพดี ขนสวย เงางาม ด้วยโอเมก้า 3, 6 และซิงค์
– ป้องกันการเกิดก้อนขนอุดตันในระบบทางเดินอาหาร
– ควบคุมความเค็ม ลดความเสี่ยงโรคไต
– บำรุงสายตา และ เสริมประสิทธิภาพการมองเห็นด้วยทอรีน
– วิตามินและแร่ธาตุจำเป็นรวม 23 ชนิด
– เสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทด้วยโคลีน คลอไรด์
– ยัคค่าช่วยลดกลิ่นมูล
– เม็ดอาหารที่มีความกรอบช่วยลดคราบหินปูน
โดยแค็ท เอ็นจอย ก็มี 3 สูตรให้ทาสแมวเลือกซื้อให้เหมาะสมกับวัยของน้องๆ อีกด้วย
1. สำหรับลูกแมวและแม่แมว
2. แมวโตเต็มวัย
3. แมวสูงวัย (อายุ 7 ปี ขึ้นไป)
สรุปแล้วการเลี้ยงน้องแมวที่ดี คือการเลี้ยงพวกเขาให้เหมือนคนในครอบครัว เพราะพวกเขาไม่สามารถพูดหรือแสดงการกระทำเจ็บป่วยได้เหมือนมนุษย์ ดังนั้นหากเราอยากให้น้องๆ อยู่กับเราไปนานๆ ผู้เลี้ยงควรเลือกอาหารที่มีคุณประโยชน์และเหมาะสมกับวัยของน้อง พร้อมให้ความรัก ดูแลเอาใจใส่ปะหนึ่งคนสำคัญ เพียงเท่านั้นเราจะได้ไม่มานึกย้อนเสียใจในภายหลังในวันที่เสียเขาไปแล้วนั่นเอง
ช่องทางติดต่อ
FB : CAT n joy
หาซื้อได้ตาม Pet Shop ใกล้บ้านเลยน้า
Source : Common Cat Diseases | VietDiags